บทความ

รูปภาพ
มะขามป้อม สรรพคุณและประโยชน์ของมะขามป้อม 47 ข้อ ! By  MedThai  | POSTED:  5 กรกฎาคม 2013 , UPDATED:  5 สิงหาคม 2017 มะขามป้อม FONT SIZE ก   ก   SECTIONS  1 มะข้ามป้อม 2 ประโยชน์ของมะข้ามป้อม 3 วิธีทำมะขามป้อมแช่อิ่ม มะข้ามป้อม มะขามป้อม ชื่อสามัญ  Indian gooseberry มะขามป้อม ชื่อวิทยาศาสตร์  Phyllanthus emblica L. จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม ( PHYLLANTHACEAE ) มะขามป้อมเป็นสมุนไพรที่ชาวอินเดียใช้มาหลายพันปีแล้ว เพราะเป็นยาอายุวัฒนะซึ่งชาวอินเดียเรียกสมุนไพรหรือผลไม้ชนิดนี้ว่า Amalaka แปลว่า "พยาบาล" สะท้อนให้เห็นว่าสรรพคุณของมะขามป้อมนั้นมีมากมายเหลือเกิน และเป็นผลไม้ประจำจังหวัดสระแก้วอีกด้วย มะขามป้อม  จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและเป็นสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่ง เพราะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีสูงมาก โดยประโยชน์มะขามป้อมหรือสรรพคุณมะขามป้อมนั้นมีมากมาย และยังใช้เป็นยารักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย เพราะมะข้ามป้อมนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่ประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซีย

ทุเรียนเทศ

รูปภาพ
ทุเรียนเทศ ทุเรียนเทศ ชื่อสามัญ  Soursop, Prickly custard apple) ทุเรียนเทศ ชื่อวิทยาศาสตร์  Annona muricata L. จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา ( ANNONACEAE ) สมุนไพรทุเรียนเทศ  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะทุเรียน (ภาคเหนือ), หมากเขียบหลด (ภาคอีสาน), ทุเรียนแขก (ภาคกลาง), ทุเรียนน้ำ เป็นต้น ทุเรียนเทศ  เป็นพืชชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในตระกูลเดียวกันกับน้อยหน่า กระดังงา นมแมว และจำปี โดยลักษณะของผลนั้นจะมีรูปร่างคล้ายทุเรียน และมีหนาม เปลือกมีสีเขียว ในส่วนของเนื้อจะมีสีขาว ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว ซึ่งพืชชนิดนี้จะปลูกมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในแถบอเมริกากลาง โดยเป็นพืชที่ชอบอากาศที่มีความชื้นสูง ทุเรียนเทศ  เป็นผลไม้ที่ขาดการให้ความสำคัญทางเศรษฐกิจในไทย โดยปกติแล้วจะพบว่ามีการเพาะปลูกมากในภาคใต้ของประเทศไทย รวมไปถึงมาเลเซียและสิงคโปร์พบว่าทุเรียนเทศนี้ได้หายไปจากตลาดท้องถิ่น แต่กลับได้ในรูปของการแปรรูป เช่น น้ำทุเรียนเทศเข้มข้น น้ำทุเรียนเทศบรรจุกล่องพร้อมดื่มในร้านแถวรัฐปีนังของมาเลเซีย ทุเรียนเทศ  ในทางโภชนาการแล้วถือว่ามีคาร์โบไฮเดรตสูง โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโทส และยังมีวิตามินบี

กระเพรา

รูปภาพ
กะเพรา กะเพรา  เขียนอย่างไร ? ระหว่าง กะเพรา หรือ กระเพรา หรือ กะเพา ? ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้นระบุว่าที่ถูกต้องก็คือว่า กะเพรา [-เพรา] ที่เป็นไม้ล้มลุกใช้ปรุงเป็นอาหาร ส่วนคำว่า “กะเพา” จะหมายถึงเครื่องสานชนิดหนึ่ง และคำว่า “กระเพรา” ไม่พบในพจนานุกรมแต่อย่างใด สรุปก็คือ เขียนว่า “ กะเพรา ” กะเพรา ชื่อสามัญ  Holy basil, Sacred basil กะเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์  Ocimum tenuiflorum L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum L.) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา ( LAMIACEAE  หรือ  LABIATAE ) สมุนไพรกะเพรา  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่), ห่อกวอซู ห่อตูปลู อิ่มคิมหลำ (แม่ฮ่องสอน), กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง), อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น กะเพราเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที

กันเกรา

รูปภาพ
กันเกรา กันเกรา ชื่อสามัญ  Anan, Tembusu กันเกรา ชื่อวิทยาศาสตร์  Fagraea fragrans Roxb. วงศ์ดอกหรีดเขา ( GENTIANACEAE ) สมุนไพรกันเกรา  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มันปลา (ภาคเหนือ ภาคอีสาน), ตำแสง ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำมูซู ตะมะซู (มลายู-ภาคใต้) เป็นต้น ข้อควรรู้  : ต้นกันเกราจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ และยังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยนครพนม และมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดอีกด้วย ลักษณะของกันเกรา ต้นกันเกรา  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10-15 เมตร (อาจสูงได้ถึง 25 เมตร) เปลือกต้นเรียบมีสีน้ำตาล เมื่อต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ มีถิ่นกำเนิดตามป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้กับแหล่งน้ำ ในประเทศไทย พม่า มาเลเซีย เวียดนาม และอินเดีย สำหรับในบ้านเราต้นกันเกราขึ้นได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย แต่จะพบได้มากทางภาคใต้ ใบกันเกรา  ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบหนาแน่นที่ปลายกิ่ง เป็นรูปรี สีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เนื้อใบค่

โคกกระออม

รูปภาพ
โคกกระออม โคกกระออม ชื่อสามัญ  Balloon vine, Heart pea, Heart seed, Smooth leaved heart Pea [1],[2],[3],[6] โคกกระออม ชื่อวิทยาศาสตร์  Cardiospermum halicacabum L. จัดอยู่ในวงศ์เงาะ ( SAPINDACEAE ) [1],[2],[3],[6] สมุนไพรโคกกระออม  มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตุ้มต้อก (แพร่),  วิวี่  วี่หวี่ (ปราจีนบุรี),  โพออม  โพธิ์ออม (ปัตตานี),  เครือผักไล่น้ำ   ลูกลีบเครือ  (ภาคเหนือ),  กะดอม   โคกกระออม  (ภาคกลาง), ติ๊นโข่ ไหน (จีน), เจี่ยขู่กวา เต่าตี้หลิง ไต้เถิงขู่เลี่ยน (จีนกลาง),  สะไล่น้ำ [6] , สะไล่เดอะ [6] , สะโคน้ำ [6] ,  สะไคน้ำ [6] ,  หญ้าแมงวี่ [3] ,  หญ้าแมลงหวี่ [11]  เป็นต้น [1],[2],[3],[6] ลักษณะของโคกกระออม ต้นโคกกระออม  มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน มีการแพร่กระจายเป็นวัชพืชไปทั่วโลก ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค [10]  โดยจัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาล้มลุกขนาดกลาง มีอายุราว 1 ปี ลำต้นแตกกิ่งจำนวนมาก มีเถายาวประมาณ 1-3 เมตร มักเลื้อยเกาะพันกันขึ้นไปบนต้นไม้หรือตามกิ่งไม้ หรืออาจเลื้อยไปตามพื้นดิน ลักษณะของเถาเป็นเหลี่ยมมีสันประมาณ 5-6 เหลี่ยม และมีขนปกคลุมเล็กน้อย ผิ